วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

NECTEC














ประวัติ NECTEC
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology :NECTEC หรือเนคเทค) ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 โดยในระยะเริ่มต้นมีสถานะเป็นโครงการภายใต้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น) ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม 2534 เนคเทคได้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นศูนย์แห่งชาติเฉพาะทาง และเปลี่ยนการจัดรูปแบบองค์กรใหม่เพื่อให้มีความคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2534
สวทช.เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ มีระบบการบริหารและนโยบายที่กำหนดโดย คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในภาครํฐบาลและภาคเอกชนฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีคณะกรรมการบริหารซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับ กวทช. คือ มีกรรมการจากภาครัฐและภาคเอกชน อย่างละประมาณฝ่ายละเท่า ๆ กัน และมีผู้อำนวยการ กวทช. เป็นประธานเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาการให้บริการทางเทคนิคและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐและเอกชน



บทบาทการให้บริการทางวิชาการของเนคเทค



ก็เป็นบทบาทที่สำคัญในอันที่จะช่วยสนับสนุนให้หน่วยงานและบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเนคเทคได้มีบริการที่สำคัญนอกเหนือจากกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนากำลังคนในระดับเด็กและเยาวชนแล้ว ที่สำคัญประกอบด้วย โครงการรับรองคุณภาพบริภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในประเทศในการสร้างผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่ผลิตในประเทศให้มีคุณภาพ และมาตรฐานเทียบเท่าผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ สถาบันฝึกอบรมเนคเทค เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน และ ห้องปฏิบัติการวิจัยเปิด คือ ห้องปฏิบัติการวิจัยภายในเนคเทค ที่เปิดให้บุคคลภายนอกจากภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษามาร่วมทำงานวิจัย และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือและอุปกรณ์ในการวิจัย ความรู้ความเชี่ยวชาญของนักวิจัย ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี และพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา สร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์จากผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี และยกระดับอุตสาหกรรมโดยรวม






  • วารสารของเนคเทค
    การติดตั้งเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงด้วยโอเพนซอร์ส
    เครือข่าย wifi อันตรายหากไม่ป้องกัน
    คลื่นยักษ์สึนามิ คลื่นอภิมหาภัย
    W32.Bropia หนอนอินเทอร์เน็ต
    SCM ระบบความปลอดภัยของเกตเวย์
    โฟโทนิกส์ (Photonics)
    หนทางจาก MEMS สู่ NEMS
    การระบาดของมัลแวร์
    เมื่อหน่วยประมวลผลต่อต้าน Malware
    เครื่องสแกนแบบยืดหยุ่นได้ (Flexible Scanner)



  • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) มีภารกิจหลักในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ใน 4 สาขา ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (Electronic, Computing, Telecommunication and Information Technology : ECTI) มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในประเทศให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน รวมทั้งลดการพึ่งพาและการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยพยายามผลักดันงานวิจัยไปสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการให้บริการด้านอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ กลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้บริการดังกล่าว ได้แก่ บริการห้องปฏิบัติการวิจัยเปิด (Open Laboratory) Open Laboratory (Open Lab) คือ ห้องปฏิบัติการวิจัยภายในของเนคเทคที่เปิดให้บุคคลภายนอก ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา มาร่วมทำงานวิจัยและพัฒนา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการวิจัยและพัฒนาของเนคเทค เช่น พื้นที่ สิ่งอำนวยความสะดวก (facilities) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการวิจัย ความรู้ความเชี่ยวชาญของนักวิจัย เป็นต้น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยผ่านกลไกการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเทคโนโลยี กระตุ้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมทั้งการผสานความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาของเนคเทค ทักษะการประกอบการของภาคอุตสาหกรรม และความสามารถทางวิชาการและความพร้อมด้านบุคลากรของภาคการศึกษาเข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์ และเกิดผลประโยชน์ในระยะยาวต่อภาคอุตสาหกรรมและประเทศโดยรวม



  • ถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของ Nectec ไปที่http://www.nectec.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น